๑๑/๗/๕๒

๓๐/๑๑/๕๐

บทลงโทษด้วยความรัก (ต.ย.การบอกโลกในเง่บวก)

วันหนึ่งเมื่อยังเด็กแอนดี้น้องชายของฉันนั่งอยู่ที่มุมห้องนั่งเล่นในมือข้างหนึ่งมีปากกาหนึ่งด้าม ขณะที่ในมืออีกข้างหนึ่งก็ถือหนังสือสะสมราคาแพงของพ่อ แอนดี้คงจะปีนขึ้นไปหยิบจากบนชั้นหนังสือ

เมื่อพ่อเดินเข้ามาในห้อง แอนดี้ก็ก้มหน้างุดและทำท่ากระสับกระส่าย เขารู้ตัวดีเชียวละว่ากำลังทำผิด แม้จากระยะไกล ฉันก็เห็นรอยขีดเขียนเปรอะไปทั่วบนหน้าหนังสือของพ่อ และตอนนี้แอนดี้ก็กำลังจ้องมองพ่อ ตาโตด้วยความหวาดหวั่น รอคอยที่จะถูกทำโทษ

พ่อหยิบหนังสือขึ้นมามองแล้วก็ทรุดตัวลงนั่งบนเก้าอี้โดยไม่พูดอะไรสักคำ หนังสือทุกเล่มมีความหมายต่อพ่อมาก หนังสือคือความรู้ และหนังสือเล่มนี้ก็เป็นหนังสือสะสมราคาแพง แต่ในขณะเดียวกันท่านก็เป็นพ่อที่รักลูกมาก

สิ่งที่พ่อทำในอีกไม่กี่นาทีข้างหน้านั้นยอดเยี่ยมมากแทนที่ท่านจะลงโทษหรือดุแอนดี้หรือแม้แต่ตำหนิความซุกซนพ่อกลับนั่งลงหยิบปากกาในมือแอนดี้ขึ้นมาถือไว้แล้วก็เขียนอะไรบางอย่างลงในหน้าหนังสือสะสมราคาแพงนั่นเสียเอง พ่อเขียนที่ข้างๆ ลายเส้นที่แอนดี้ขีดว่า ภาษาของแอนดี้ เมื่ออายุสองขวบ

ต่อไปนี้ไม่ว่าครั้งไหนที่พ่อหยิบหนังสือเล่มนี้ขึ้นมาเปิด พ่อก็จะเห็นใบหน้าน้อยๆ ที่น่ารักและดวงตาที่สดใสของลูก และจะขอบคุณพระเจ้าที่ประทานเด็กน้อยคนนี้มาให้ขีดเขียนบนหนังสือแสนหวงของพ่อ ลูกทำให้หนังสือเล่มนี้ของพ่อมีความหมายเหมือนกับที่พี่ๆของลูกนำความหมายมาสู่ชีวิตของพ่อเหมือนกัน

ว้าว... ฉันคิด นี่หรือคือการลงโทษของพ่อ?

นานๆครั้งฉันก็จะหยิบหนังสือที่สะสมไว้มาให้ลูกหลานของฉันขีดเขียนเล่น ทุกครั้งที่มองดูลายมือหยุกหยิกเหล่านั้นฉันก็จะนึกถึงสิ่งที่พ่อทำในวันนั้น พ่อได้สอนให้ฉันรู้ว่า…อะไรกันแน่ที่มีค่าต่อชีวิตของเราอย่างแท้จริงซึ่งนั่นก็คือ คนที่เรารัก ไม่ใช่วัตถุสิ่งของ

ลองมองย้อนดูตัวคุณเอง ในแต่ละวันเกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นได้อยู่เสมอเช่นคุณนั่งกินข้าวกับภรรยาอยู่ที่ร้านอาหารเธอหวังดีอยากจะเทซอสให้คุณ แต่มันกลับหกไปเลอะเสื้อตัวเก่งของคุณ และคุณก็ทำสีหน้าที่ตำหนิเธอและคำพูดที่บอกว่าเดี๋ยว ผมเทเองก็ได้ นอกจากคำขอโทษที่เธอพร่ำบอกน้ำตาใสๆก็เริ่มเอ่อขึ้นในใจเช่นเดียวกันและอาหารมื้อนั้นไม่มีรสชาติสำหรับเธอเสียแล้ว

แต่ถ้าคุณบอกกับเธอว่า ถ้าซักไม่ออกก็ไม่เป็นไรหรอกเมื่อผมหยิบเสื้อขึ้นมาใช้ครั้งใด ผมจะหวนนึกถึงร้านอาหารนี้ทุกครั้งไป ที่ได้มีโอกาสมาทานข้าวกับคุณ และได้คิดถึงทุกครั้งว่าภรรยารักและเอาใจใส่ผมมาก
เท่าใด อยากปรนนิบัติเอาใจ (จนเทซอสหกใส่ผม) แต่ว่าคราวหน้าออกมาทานข้าว ผมจะเป็นคนเทซอสให้คุณมั้งล่ะ (ทีนี้ตาผมมั่ง) รอยยิ้มจากหัวใจของเธอได้เริ่มโบยบินแล้ว แค่นี้คุณก็ลงโทษเธอให้ระวังมากขึ้นแล้ว

สิ่งที่มีค่าต่อชีวิตคนเรานั้นไม่ใช่ นาฬิกาเรือนละแสนหรือเนคไทเส้นละหลายๆพัน แต่เป็นความอบอุ่นในหัวใจ ที่คุณรู้ว่ามีใครคนหนึ่ง เฝ้ารัก เฝ้าถนอมความรู้สึกคุณอยู่ตลอดเวลาต่างหาก แล้วคุณล่ะ เคยลงโทษใครด้วยความรักหรือเปล่า

ได้อ่านบทความนี้แล้ว มีรู้สึกดี ๆ เลยนำมาให้อ่านกัน หากใครเคยอ่านแล้วก็ไม่เป็นไรนะ
หากครั้งนี้ลองอ่านดูอีกครั้งแล้วพินิจด้วยใจ
บางครั้ง....เราอาจเคยตั้งคำถามหนึ่งขึ้นในใจว่ามนุษย์เรา...เกิดมาเพื่ออะไร
บทความนี้อาจเป็นคำตอบที่ดีสำหรับคุณ...ก็เป็นได้
ขอมอบบทความนี้ให้กับผู้มีหัวใจที่เต็มเปี่ยมด้วยความรักทุกท่าน

อ่านแล้วมีความคิดเห็นอย่างไร ก็ช่วยกันส่งโพสมาบอกด้วย...ขอบคุณครับ

๒๐/๑๑/๕๐

คู่มือสุขภาพ "จุงหนานห่าย" (แม่ไก่ฝากมาลง)

健康秘笈
คู่มือสุขภาพ"จุงหนานห่าย"

  • "จุงหนานห่าย" คือที่ทําการรัฐสภาสาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นที่รู้กันดีว่าสมาชิกรัฐสภาจีนล้วนแต่ขิงแก่เป็นส่วนใหญ่จึงเป็นที่มาของคู่มือสุขภาพนี้
  • ไม่ว่าคุณจะงานยุ่งเพียงใดควรหาโอกาสอ่านสักนิดเพราะนี่เป็นความหวังดีของนักวิทยาศาสตร์ ศจ.หงจ้าวกวงเขียนขึ้นเพื่อขิงแก่พวกนี้โดยเฉพาะได้เรียบเรียงใหม่ให้ดูง่ายเข้าใจง่ายเพื่อเป็นหลักการในการปฏิบัติ
  • ทุกท่านก็ล้วนเป็นขิงแก่หรือไม่ก็อ่อนกว่ากันไม่เท่าไรก็ปรับใช้ตามความรู้เดิมที่เคยมีมาให้เหมาะสมกับแต่ละท่านก็แล้วกัน

หลักการสาม“ครึ่งนาที”:
ตื่นมาอย่าเพิ่งลุกจากเตียงทันทีนอนบนเตียง"ครึ่งนาที"
ลุกขึ้นนั่งอีก"ครึ่งนาที"
ห้อยขาลงจากขอบเตียงพักอีก"ครึ่งนาที"
การผ่านพ้นสามครึ่งนาทีนี้ไม่เสียเงินสักบาทจะทาให้สมองไม่ขาดเลือดหัวใจเต้นเป็นปกติลดความเสี่ยงจากอาการเลือดเลี้ยงสมองไม่ทัน


สาม"ครึ่งชั่วโมง"
1. ทุกเช้าออกกาลังกาย"ครึ่งชั่วโมง" ออกกําลังกายแบบไหนก็ได้ตามแต่สะดวก
2. ตอนเที่ยงนอน"ครึ่งชั่วโมง" นี่สําหรับคนแก่ เนื่องจากคนแก่กลางคืนมักนอนน้อย กลางวันเลยต้องเสริม (แต่ถ้าใครที่คิดว่ากลางคืนนอนพอแล้วไม่ต้องก็ได้)
3. 6–7 โมงเย็นเดิน"ครึ่งชั่วโมง" จะทําให้ตอนกลางคืนนอนหลับฝันดียิ่งขึ้น


ต้องปรับทัศนคติ ขอให้จําคําขวัญข้างล่างนี้ไว้
กินให้เหมาะสม ออกกาลังกายแต่พอดี
合理膳食;适量运动;
จํากัดเหล้าเลิกบุหรี่ มีจิตใจที่สมดุล
戒烟限酒;心理平衡。
(ข้างต้นเป็นการแปลตรงตัวจากต้นฉบับได้ความหมายแต่อาจจายาก)
หมั่นกินผัก รักการเดิน ดื่มเหล้า(ให้รู้)เขิน เมินบุหรี่ยา
常吃素,多走路,少喝酒,戒烟毒。
(ข้างล่างเป็นคาขวัญที่สะท้อนความหมายของคาขวัญข้างต้น KD เรียบเรียงจากสูตรสุขภาพของครูจีนคนหนึ่ง..จําชื่อไม่ได้แล้ว..ซึ่งตรงกับที่ ศจ.หงกล่าวเปรียบเทียบให้ฟังว่าที่จริงโครงสร้างฟันของมนุษย์ถูกสร้างมาให้เหมาะกับการกินผักมากกว่าเนื้อสัตว์)

สรุปคู่มือสุขภาพฉบับนี้มีว่า
หนึ่งศูนย์กลาง สองสัณฐาน สามรูปแบบ และ แปดเฝ้าระวัง ดังนี้

“หนึ่งศูนย์กลาง” ศูนย์กลางอยู่ที่ “สุขภาพ” คือให้ระวังสุขภาพเป็นหลัก

“สองสัณฐาน”

  • สัณฐานที่1 “เอาหละ เอาหละ” (แกล้งโง่ซะบ้าง จะได้หาแฟนได้ง่ายไง)
  • สัณฐานที่2 “ใจกว้างหน่อย” (จะได้ไม่เครียด ไม่แค้นใครให้หนักใจตัวเอง)
"สามรูปแบบ” ช่วยคนเป็นสุข รู้จักพอเป็นสุข รู้จักสุขเป็นสุข(รักษาจิตใจให้เป็นสุขอยู่เสมอ)
"แปดเฝ้าระวัง” คือหมั่นติดตาม สี่พื้นฐาน และ สี่ดีที่สุด
  • สี่พื้นฐาน คือ หมั่นกินผัก รักการเดิน ดื่มเหล้าเขิน เมินบุหรี่ยา
  • สี่ดีที่สุด คือ แพทย์ที่ดีที่สุดคือตัวเอง ยาที่ดีที่สุดคือเวลา จิตที่ดีที่สุดคือความเงียบ การออกกําลังกายที่ดีที่สุดคือการเดิน
หากมีพื้นฐานเหล่านี้พร้อม ก็ไม่จําเป็นต้องพึ่งยาอะไร รับรองทุกคนมีสิทธิ์อายุยืนเท่าอัตราที่วิทยาศาสตร์นาโนจะให้ได้ คือ 160 ปี... สาธุ

๑๙/๑๑/๕๐

How to stay young? (แม่ไก่ฝากให้ลง)

HOW TO STAY YOUNG ?
如何保持年輕

1. Throw out nonessential numbers. This includes age, weight, and height.
Let the doctors worry about them. That is why you pay them.
拋開所有的不重要的數字,包括年齡,體重,身高。
2. Keep only cheerful friends. The grouches pull you down.
與快樂的人為友,心懷不滿的人會讓你消沉。
(Keep this in mind if you are one of those grouches!)
3. Keep learning:
堅持不懈地學習。
Learn more about the computer, crafts, gardening, whatever.
Never let the brain get idle.
"An idle mind is the devil's workshop."
And the devil's name is Alzheimers!
4. Enjoy the simple things.
從小事中找到樂趣。
5. Laugh often, long and loud. Laugh until you gasp for breath.
開懷大笑,笑到不能自已。
And if you have a friend who makes you laugh, spend lots of time with him or her!
6. The tears happen:
想哭就哭
Endure, grieve, and move on.
The only person who is with us our entire life, is ourself.
LIVE while you are alive.
7. Surround yourself with what you love:
讓你愛的人和事環繞著你。
Whether it's family, pets, keepsakes, music, plants, hobbies, whatever.
Your home is your refuge.
8. Cherish your health:
珍愛你的健康。
If it is good, preserve it.
If it is unstable, improve it.
If it is beyond what you can improve, get help.
9. Don't take guilt trips.
Take a trip to the mall, even to a foreign country,but NOT to where the guilt is.
不要踏上罪惡之路。
10. Tell the people you love , that you love them, at every opportunity.
告訴你愛的人" 我愛你 ",珍惜每一個機會。
And if you don't send this to at least four people -who cares?
But do share this with yourself.

๒๔/๙/๕๐

สรุปกิจกรรม "ครอบครัวคุยกัน" ครั้งที่ ๑

สรุปการประชุม “ครอบครัวคุยกัน” (มัธยม ๒) ครั้งที่ ๑
ในวันศุกร์ที่ ๓ สิงหาคม ๒๕๕๐ เวลา ๑๕.๓๐ – ๑๘.๑๐ น.

ผู้เข้าร่วมประชุม : จำนวนผู้ปกครอง ๒๗ ครอบครัว (ดูรายชื่อในเอกสารายชื่อ และ email ที่แนบท้าย) ตัวแทนครู ๓ คน คือ
ครูอัจฉรา สมบูรณ์ (ผู้ช่วยครูใหญ่มัธยม ฝ่ายบริหาร)
ครูสุชาดา ทับมรินทร์ (สอนวิชามานุษย์และสังคมศึกษา)
ครูเทิดไท ไทยเที่ยงธรรม (สอนวิชาภาษาอังกฤษ)

ผู้นำการประชุม : คุณรุ่งโรจน์ จตุรภุชพรพงศ์ (คุณพ่อ วีไอพี) และคุณชูชื่น เจตจำรัส (คุณแม่กล้า)

เอกสารที่แจก : เบอร์โทรศัพท์ และ email ของผู้ปกครอง (ไม่ครบทุกคน)

รูปแบบการประชุม : แบ่งกลุ่มผู้ปกครองออกเป็น ๓ กลุ่ม กลุ่มละ ประมาณ ๑๐ คน มีผู้ปกครองทำหน้าที่ผู้นำกลุ่ม ๑ คน และมีคุณครูประจำ กลุ่ม ๑ คน พูดคุยกันในกลุ่มและส่งตัวแทนมาสรุปให้กลุ่มใหญ่ฟัง

กลุ่มที่ ๑ คุณเล็ก (คุณแม่คิต)
เรามองว่าการมาคุยอย่างนี้มันเหมือนวนในอ่าง ไม่สามารถแก้ปัญหาให้เราได้ ปัญหาที่เกิดเพราะระบบ ในระดับชั้นประถมเราเรียนแบบผ่านกิจกรรมเป็นส่วนใหญ่ เช่น นักเรียนต้องเรียนให้ครบตั้งแต่บทที่ ๑ – ๑๐ แต่เขาเรียนไม่ครบอาจจะได้เพียง ๑ – ๗ เท่านั้น เมื่อขึ้น ม.๑ ฐานไม่แน่น เด็กไม่มีทักษะในการทำแบบฝึกหัด การแก้โจทย์ ซึ่งตอนอยู่ประถมลูกเราเป็นรุ่นแรกที่เรียนวิชาคณิตศาสตร์ใช้หนังสือภาษาอังกฤษ
และการเรียนวิชาอื่นก็ไม่แตกฉานเพราะที่นี้จัดระบบการเรียนแบบเวียนเรียนวิชาหลัก ภายใน ๓ เทอม คือ ในชั้นหนึ่งมี ๓ ห้อง ห้อง ๑ เรียนสังคม ห้อง ๒ เรียนภาษาไทย ห้อง ๓ เรียนวิทยาศาสตร์ พอเปลี่ยนเทอมแต่ละห้องก็ต้องเปลี่ยนวิชาหลัก ทำให้ไม่ได้ย่อยรายละเอียด
ตอนนี้ครูก็มีน้อย ต้องสอนเยอะ เมื่ออาทิตย์ที่แล้วครูชั้น ม.๒ ออกภาคสนาม เหลือเด็กห้อง เคมี ต้องเรียนเคมีทั้งวันเขากลับบ้านรู้สึกเพลียมากเพราะทั้งวันต้องเรียนแต่วิชาเคมี ถ้าเด็กคนไหนรับไม่ทันเขาก็หลุดเลย ตอนนี้พ่อแม่ได้คุยกันในกลุ่มว่าจะให้เด็กไปเรียนพิเศษในวิชา คณิตศาสตร์ (คุณรุ่งโรจน์ได้สอบถามในที่ประชุมว่าขณะนี้มีกี่ครอบครัวที่ไม่พาลูกไปเรียนพิเศษ มีทั้งหมด ๗ ครอบครัวแต่กำลังจะให้เรียนอีก ๑ ครอบครัว)
ปัญหาที่กลุ่มรู้สึกเป็นห่วง
๑. การจะส่งลูกไปเรียนพิเศษในวิชาคณิตศาสตร์ ไม่รู้ว่าจะเป็นทางแก้ที่ตรงจุดหรือเปล่า มองปัญหาที่เด็กตกว่าเพราะพื้นฐานของเด็กไม่แน่นมาจากประถม ตอนนี้พ่อแม่รู้สึกเหนื่อยกับเรื่องนี้มาก
๒. ระบบการส่งงาน – การบ้าน ครูอาจมองว่าให้เด็กมาส่งเองแต่ครูอาจไม่ได้ช่วยตาม ซึ่งผู้ปกครองเข้าใจครูว่าทำงานเยอะมาก อยากให้ช่วยมองปัญหาเรื่องนี้ด้วย ขอให้ครูช่วยให้เด็กมีพื้นฐานในวิชาให้แน่นกว่านี้เพื่อที่เขาจะสามารถนำไปสอบที่อื่นได้
๓. การที่จัดกิจกรรมครอบครัวคุยกัน หรือ การพูดคุยสรุปกับครูประจำภาคเรียน ควรจัดตั้งแต่ช่วงต้นเทอม จะได้รับทราบข้อมูลของลูก และช่วยเขาได้
คำถามจากผู้ปกครอง : ชั่วโมงสอนของครูแต่ละท่านค่อนข้างเยอะใช่หรือไม่
ครูสุชาดา (ครูโอ๋) วิชาคณิตศาสตร์ในช่วงต้นเทอมครูจะสอนเยอะ ๒๐ คาบ / สัปดาห์ เพราะสอนทั้ง ม.๒ – ม.๓ แต่ตอนนี้มีครูใหม่มาช่วยใน ม.๓ ทำให้สอนน้อยลง ในเรื่องการที่ผู้ปกครองเป็นห่วงเด็กไม่ส่งงานนั้น ใน ม.๒/๑ ตนได้สอบถามนักเรียนและได้คำตอบว่า เขาไม่เข้าใจในห้องเรียนแล้วเมื่อจบคาบไม่มีการออกมาถามครูต่อ ที่สำคัญตอนนี้เด็กติดเกม หนังสือการ์ตูน เขาไม่สามารถควบคุมตัวเองให้ทำการบ้านได้ แต่นักเรียนห้องอื่นไม่แน่ใจว่าเกิดจากปัญหานี้หรือเปล่า

กลุ่มที่ ๒ คุณกตัญญู (คุณแม่มามา)
ในกลุ่มส่วนใหญ่จะสอบถามครูเต็กว่าจะให้ผู้ปกครองช่วยอะไรได้บ้างในสภาพปัจจุบัน ซึ่งครูเต็กบอกว่าเด็ก ม.๒ รุ่นนี้มีภาวะความเป็นเด็กสูง ทั้งพฤติกรรม และพื้นฐานวิชา คือ นิสัยเขาไม่ทำงานเต็มความสามารถเลือกที่จะทำแบบพอผ่าน เขาจะขาดเรื่องการสื่อสาร จะถามเพียงว่าจะสอบเมื่อไหร่ สอบอะไร แต่ไม่ได้ให้ครูอธิบายเนื้อหาวิชา เด็กจะมี ๓ กลุ่ม (เรียงจากน้อยไปมาก) คือ กลุ่มเรียนเก่ง กลุ่มเรียนปานกลาง และกลุ่มสุดท้ายเรียนอ่อนมีจำนวนมาก
ตอนนี้สิ่งที่พ่อแม่กังวลคือ เด็กสอบไม่ผ่านเยอะขึ้น ทำให้พ่อแม่อยากให้เด็กไปเรียนพิเศษมากขึ้น เด็กสอบไม่ผ่านพ่อแม่วิตกกังวล เด็กก็วิตกกังวล ในช่วงแรกพ่อแม่คิดว่าจะสอนเด็กเองก่อน ถ้าสอนไม่ไหวก็จะไปหาคนอื่นมาสอนพิเศษ แต่สิ่งที่กังวลหลังจากสอนพิเศษแล้วเด็กเรียนดีขึ้น คุณครูจะระงับการเรียนรู้ในห้องเรียนเพราะคิดว่าเด็กรู้เรื่องดีแล้ว แต่ภาวะการเรียนรู้ไม่เกิดจริง ๆ ในเด็กที่ไปเรียนพิเศษ ส่วนเด็กที่ไม่ไปเรียนก็อาจจะตามไม่ทันเพื่อนพ่อแม่ก็ต้องให้เด็กไปเรียนพิเศษเพิ่มขึ้นด้วย
คุณแม่มามา ได้เล่าประสบการณ์ลูกของตนเองว่า ได้พาเขาไปเรียนพิเศษบ้าง แต่ไม่ใช่ว่าไม่ไว้วางใจโรงเรียน ตอนแรก ๆ ตนให้ลูกไปเรียนพิเศษวิชา ศิลปะ รำ กีฬา หาครูมาฝึกให้เขา ในวิชาดนตรียังไม่ได้ให้เรียนพิเศษเพราะครูที่โรงเรียนดูแลใกล้ชิด ลูกคนโตเป็นผู้หญิง เขามีความต้องการมากในการหาความรู้เพิ่มเติม โรงเรียนสอนให้เขาใฝ่รู้ ทำให้เขาอยากมีความรู้เพิ่มขึ้น ที่บ้านไม่ได้ไปกดดันให้เขาเรียน จากภาวะไม่กดดันแต่ตัวเขาต้องการเรียนเอง จริง ๆ ลูกสาวขอมาตั้งแต่ ประถม ๖ เข้าม.๑ เราก็ยังไม่ให้เรียนพิเศษ จนขึ้น ม.๒ จึงยอมให้เรียนพิเศษ ตัวเขาเองก็เรียนผ่านทุกวิชา ตอนเขามาขอเรียนพิเศษแรก ๆ ตนตกใจนึกว่าเขาเรียนตก ช่วงแรกแม่จะไปรับ – ส่ง เรียนได้สักระยะให้เขาเดินทางเอง ลูกชายที่เรียน ม.๒ เขาเพียงพอแล้วไม่ต้องการเรียนพิเศษ แต่ช่วงหลัง ๆ เห็นพี่สาวไปเรียนพิเศษ และได้เดินทางไปเรียนเอง เขาก็อยากออกไปผจญภัยแบบพี่สาวบ้าง อยากเดินทางเองแบบพี่ ยังไม่ได้ให้ลูกชายไปเรียนพิเศษเพราะกลัวว่าเขาอยากเรียนตามพี่มากกว่าอยากได้ความรู้เพิ่มจริง ๆ ลูกชายไม่เคยว่าโรงเรียนไม่ดี จะรักที่นี้มาก โรงเรียนรุ่งอรุณสามารถเอามาเป็นเงื่อนไขกับเขาได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความประพฤติไม่ดี คะแนนไม่ดี เราจะบอกว่าถ้าเป็นอย่างนี้จะไม่ให้เรียนที่รุ่งอรุณ เขาก็จะรีบปรับปรุงตัวเองขึ้นมา
อยากจะฝากพ่อ – แม่ทุกคนว่า ถ้าเราจะให้ลูกเรียนพิเศษ อย่าให้นักเรียนลืมฐานความมีพระคุณของโรงเรียนนี้ เด็กใช้เวลามากมายในการเรียนพิเศษ แต่การบ้านที่คุณครูมอบหมายเขาต้องไม่ลืม
คุณพ่อ – คุณแม่ ในที่ประชุมเสนอว่า อยากให้คุณครูช่วยสอนพิเศษเพิ่มเติมให้เด็กบ้างได้ไหม อาจจะเป็นในช่วงเย็น
ครูเทิดไท (ครูเต็ก) การจะสอนพิเศษเพิ่มให้เด็กต้องขึ้นอยู่กับตัวเด็กเองว่าเขาพร้อมที่จะเรียนหรือไม่ ถ้าพ่อ – แม่ต้องการแต่เด็กไม่ต้องการก็ไม่เห็นผล เด็กที่เก่งในชั้นเรียนครูได้ให้แบบฝึกหัดที่ยากขึ้นไป และอยากให้เด็กที่เก่งเป็นคนสอนเพื่อนที่เรียนอ่อน จะเป็นการตอกย้ำความรู้ของเด็กเก่ง จะช่วยลดระยะห่างระหว่างคนเก่ง กับคนไม่เก่งแคบลงไปด้วย ถ้ามีกิจกรรมให้ตอบคำถามในห้อง คนเก่งก็จะเป็นผู้ผูกขาดในการตอบ เด็กเก่งมักจะเกิดจากความสนใจของเด็กเอง ความพร้อมจากทางครอบครัวที่ให้การสนับสนุนต่อเนื่อง ตนไม่เคยเจอแบบอยู่เฉย ๆ ก็เก่ง เด็กเก่งชั้นนี้มักจะมีคำถามมาถามตลอด เขาอยากเอาทุกอย่างที่ครูรู้ออกมาให้หมด แต่มีจำนวนไม่มาก ในบางกรณีผมก็แนะนำให้ไปเรียน Summer ที่ต่างประเทศ แต่นั้นต้องดูความพร้อมของทุกส่วน ทั้งครอบครัว และตัวเด็ก จะแนะนำในกลุ่มเด็กตก เพราะเขาไม่เห็นว่าภาษามีความจำเป็นกับเขาอย่างไรต้องส่งไปที่ ๆ เขาต้องใช้ภาษานี้เท่านั้น นี้อาจเป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยเขาแต่ก็ไม่รับประกันว่าจะได้ผลกับทุกคน
คุณรุ่งโรจน์ ลูก ๆ ของตนไป Summer ที่เมืองจีนมา ก่อนไปให้ไปเรียนภาษาจีนวันอาทิตย์ เขาก็ไม่อยากเรียนแต่เมื่อกลับมาจาก Summer เขามีความกระตือรือร้นมากขึ้น
ในวิชาคณิตศาสตร์นักเรียนต้องฝึกทำบ่อย ๆ จะมีความแม่นยำขึ้น ถ้าคุณครูได้จัดให้เด็กได้เรียนเพิ่มเติมในช่วงเช้า หรือเย็น เฉพาะเด็กที่เรียนไม่ทันเพื่อน คิดว่าเด็กกลุ่มนี้จะเรียนดีขึ้นจากเดิม และอาจจะไม่ต้องไปเรียนพิเศษข้างนอกได้หรือไม่
คุณวีระศักดิ์ (คุณพ่อโอ) จากการที่ได้ดูสถิติเด็กตกคณิตศาสตร์ ใน ม.๒ เด็กตกเยอะมาก จึงอยากชวนมองย้อนว่าอาจเป็นที่การสื่อสารของครู ที่น่าจะมีปัญหาในการให้เด็กมีความเข้าใจมากขึ้น หรือว่าเป็นที่ระบบการวัดผลในรุ่งอรุณถ้าเทียบกับโรงเรียนข้างนอก เรามีมาตรฐานสูงกว่าเขาหรือเปล่า จึงอยากให้ลองมองใน ๒ ข้อนี้ด้วย เพราะอยากจะหาปัญหาที่มันเกิดขึ้นจริง ๆ จะได้รู้วิธีแก้ที่ถูกต้อง ไม่ใช่ต้องแก้ด้วยการไปเรียนพิเศษแต่ปัญหาไม่ได้อยู่ตรงนั้น
คุณชูชื่น (คุณแม่กล้า) จากการที่ได้สอบถามกับครูหนึ่งเรื่องแนวข้อสอบ ครูหนึ่งบอกว่าข้อสอบไม่ได้ยากจากเกณฑ์มาตรฐานของ ม.๒ ในข้อสอบที่ผ่านมา มี ๑ ข้อถือเป็นโจทย์ที่แจกคะแนน ๕ คะแนน แต่เด็กก็ยังทำไม่ได้
คุณรุ่งโรจน์ อยากเรียนถามคุณครูว่า เป็นเพราะเด็กเราไม่ฉลาด หรือ เขาได้ทำแบบฝึกหัดน้อยไป
ครูเทิดไท (ครูเต็ก) สิ่งที่คุณครูพบคือเด็กกลุ่มที่ตกวิชาคณิตศาสตร์ ส่วนใหญ่จะตกภาษาอังกฤษด้วย ตนเองก็มีข้อสอบที่แจกคะแนนเหมือนกัน ตัวข้อสอบที่ให้นักเรียนทำโจทย์จะนำมาจากแบบฝึกหัดในห้องเรียนแต่นำไปสลับข้อ ผลออกมานักเรียนทำไม่ได้ มีคนตก นักเรียนส่วนใหญ่เมื่อทำแบบฝึกหัดในห้องเรียนไปแล้วไม่มีการติดตาม ทบทวน เนื้อหา ทำให้เมื่อเห็นข้อสอบก็ไม่รู้ว่าจะต้องทำอย่างไร


กลุ่มที่ ๓ คุณวาริ (คุณพ่อน้ำฝน)
เราเห็นปัญหาเด็กหลาย ๆ คนว่าความใส่ใจในวิชาการเรียนยังน้อยอยู่ ในกลุ่มนี้ตั้งแต่ประถมเด็กนอนเรียนมาเลย แต่พอขึ้นมัธยมการเรียนการสอนต่างกันเด็กเขาเหมือนไม่ได้ผ่านกระบวนการฝึกฝนมา ต้องยอมรับว่าประถมปัจจุบันต่างจากอดีต เมื่อนักเรียนขึ้น มัธยมต้น ควรมีการสร้างกระแสหรือความมุ่งมั่นในการเรียน ประเด็นอื่น ๆ คล้ายกับกลุ่มที่ ๑, ๒ คือ เด็กอ่อนต้องเรียนพิเศษจริง ๆ หรือ ถ้าครูสอนเพิ่มเติมให้เขาได้หรือไม่ คุณครูน่าจะมีเวลามากขึ้นเพื่อให้กับเด็กที่อ่อน เรียนไม่ทัน ไม่ค่อยเอาใจใส่ ได้อาศัยครูช่วยดูแล
จริง ๆ เราไม่อยากยกภาระให้ครูทั้งหมดแต่บางครั้งกว่าเราจะรู้ปัญหาลูกก็ปลายเทอมแล้ว ถ้าครูเห็นปัญหาของเด็กขอให้ช่วยส่งข่าวบอกผู้ปกครองด้วย
คุณประดิษฐ์ (คุณพ่อเดียร์) ควรให้เด็กได้มีการแข่งขันในการเรียนได้หรือไม่ ให้เด็กได้รู้ถึงความสำคัญในการต้องสู้ เพราะเขาคิดว่าอยู่อย่างนี้ก็อยู่ได้ ลูกสาวตนเริ่มไม่มุ่งมั่นในตนเอง เขาไม่คิดจะสู้ พ่อแม่เสริมอย่างไรก็ไม่คิดจะสู้

คุณุรุ่งโรจน์ การแข่งขันมันก็มีทั้งดีและไม่ดี แข่งขันมากไปเขาจะเห็นแก่ตัวและเครียด แต่ถ้าไม่มีเลยเขาจะไม่สู้ ส่วนการที่ผู้ปกครองอยากให้มีการจัดกิจกรรมแบบนี้เร็วขึ้นนั้น กิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่ผู้ปกครองช่วยกันคิดจัดขึ้น ที่คิดจัดช่วงปลาย ๆ เทอมเพราะคิดว่าถ้าจัดช่วงต้นเทอมจะมีอะไรมาแลกเปลี่ยนกันหรือเปล่า จึงรอให้ผ่านไปสักระยะ ในกิจกรรมที่ผู้ปกครองจัดขึ้นนี้ โรงเรียนได้ให้การสนับสนุนเต็มที่ ครูอุ๊ได้ให้คำแนะนำเรื่องการแจกจดหมายผู้ปกครองว่า ควรแจกตอนมีการจัดประชุมผู้ปกครองประจำภาคเรียน จดหมายจะได้ถึงมือผู้ปกครองโดยตรง ถ้าฝากนักเรียนไปให้อาจไม่ถึงมือผู้ปกครอง ต่อไปคิดกันไว้ว่าจะมีการจัดกลุ่มแบบ ที่ทีมผู้ปกครอง ม.๖ ปีที่แล้ว หรือที่ ม.๔ กำลังทำกันอยู่ คือให้โทรชวนกัน โดยจะให้จัดเป็นกลุ่ม ๆ ขอผู้ปกครองที่มาในวันนี้เป็นหลักในการโทรชวนผู้ปกครองที่มีรายชื่อในกลุ่มตัวเองมาประชุม ครั้งนี้ได้คุณแม่ไก่ (แม่เบสท์) ที่ช่วยทำรายชื่อลงทะเบียน สิ่งที่จะทำต่อไปคือจะให้แม่ไก่ขอรายชื่อ – เบอร์โทรศัพท์ ผู้ปกครองจากครูเอ (เลขามัธยม) ในการจัดกลุ่มผู้ปกครองอาจจะจัดกลุ่มละ ๔-๕ คน การโทรชวนกันจะรวดเร็วขึ้น และคิดว่าโทรชวนกันเองจะมากันมากขึ้น เพราะถือว่าได้มาเจอเพื่อน
ครูอัจฉรา (ครูอุ๊) การที่พวกเรามากันวันนี้เป็นเรื่องที่ดี ได้แลกเปลี่ยนเรื่องที่กลุ้มใจ ทุกข์ใจกันอยู่ เป็นโอกาสได้ฟังกันและช่วยพากันออกจากทุกข์ ขอพูดในฐานะคนเป็นแม่ที่เคยมีประสบการณ์ที่ลูกสอบได้คะแนนไม่ดีมาก ๆ มาก่อนขอเล่าเรื่องลูกสาวตนเองจบจากโรงเรียนรุ่งอรุณ ตอนนี้เรียนมหาวิทยาลัยปี ๓ คณะอักษร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ลูกไม่เคยเรียนพิเศษ ถ้าเรียนก็เป็นดนตรี ศิลปะ แต่ก่อนเราเป็นคนจัดตาราง ให้เรียน พอโตขึ้นเขาจัดของเขาเอง เลือกเรียนเอง ตัวเขาในมัธยมต้นเรียนคณิตศาสตร์ได้ ๑ เกือบจะตก สังคมได้ ๕๖ คะแนน จาก ๑๐๐ พละ ได้ ๑ ตอนนั้นเราก็ทุกข์ใจมาก ถ้าไปจี้ที่ครูเราก็ทำได้ แต่เราได้กลับมาคิดว่าลูกโตแล้ว การช่วยของเราควรช่วยเพื่อให้เขาช่วยตัวเองให้มากที่สุด จึงดูจากผลการประเมิน ดูว่าลูกติดขัดอะไรในวิชาที่คะแนนน้อยช่องประเมินผลบางช่องได้ ๐ ถามแล้วได้ความว่า ไม่ส่งงานครู จึงได้สอบถามกันว่าทำไมจึงไม่ส่ง แรก ๆ ก็ใช้วิธีดุ ถามจี้ตัว คาดคั้นเขามาก เขาเครียด และรู้สึกไม่ดีกับตัวเอง เราจึงเลิกวิธีนี้แต่อาศัยความใกล้ชิด ชวนดู ชวนคุย แก้ไขความเข้าใจผิด ๆ และรอเวลาให้เขาแก้ไขเปลี่ยนแปลงด้วยตัวเขาเอง อดทนรอ ๑ ปีก็ผ่านมาได้ ตนไม่สอนการบ้านลูกตั้งแต่เขาอยู่ ป.๖ ให้เขาทำของเขาเอง เด็กเราไม่ใช่ปัญญาด้อย ยกเว้นบางคนที่เขาต้องการความช่วยเหลือพิเศษแต่เราไม่ต้องไปตีตราเขา พากันแก้ไขเขาไปตามอาการ หรือปัญหาที่พบเห็นที่ห้องเรียนคุณครูผู้สอนจะช่วยเขาได้ แต่ที่บ้านผู้ปกครองก็ต้องทำเอง เห็นให้ตรงกัน อะไรที่นักเรียนต้องทำก็ต้องให้เขาทำ เราต้องฝึกให้เขามีความรับผิดชอบ รู้จักหน้าที่ตนเอง

ก่อนปิดการประชุม ได้ทิ้งคำถามต่อที่ประชุมไว้ให้ร่วมเสนอแนะ
๑. กิจกรรมค่ายครอบครัว ๒ วัน ๑ คืน เราอยากให้มีกันอีกหรือไม่
๒. เครือข่ายครอบครัวชั้น ม.๒ ยังต้องการให้มีกิจกรรมเชิญวิทยากรมาบรรยายอีกหรือไม่

จบการประชุม : เวลา ๑๘.๑๐ น.


นางอัจฉรา สมบูรณ์ ผู้ตรวจทาน
นางสาวรัชนีวรรณ เฉียวกุล ผู้บันทึกการประชุม

๑๐/๗/๕๐

จ.ม.ข่าวกิจกรรม "ครอบครัวคุยกันครั้งที่ ๑"

ชมรมครอบครัวชั้นมัธยม ๒

ที่ ชรค.มัธยม๒ ๐๑/๒๕๕๐

วันที่ ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๕๐

เรื่อง ขอเรียนเชิญเข้าร่วมกิจกรรม “ครอบครัวคุยกันครั้งที่ ๑”
เรียน ท่านผู้ปกครองนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒

เนื่องด้วยทางชมรมครอบครัวชั้นมัธยม ๒ เห็นว่าตั้งแต่เปิดเทอมแรกของปีการศึกษา ๒๕๕๐ เป็นต้นมา บรรดาผู้ปกครองยังไม่มีโอกาสได้พบปะ เพื่อทำความรู้จัก แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน

ทางชมรมฯ จึงใคร่ขอเรียนเชิญท่านผู้ปกครองเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว ในวันศุกร์ที่ ๓ สิงหาคม ๒๕๕๐ เวลา ๑๕.๓๐ – ๑๗.๐๐ น. ณ ห้องประชุมรับอรุณ เพื่อผู้ปกครองจะได้รู้จักกันมากขึ้น และมีโอกาสในการแลกเปลี่ยนทัศนคติ ประสบการณ์ร่วมกัน รวมทั้งจะได้ร่วมกันหารือถึงรูปแบบในการพบกัน เวลานัดพบ รวมทั้งการส่งข่าวสื่อสารของครั้งต่อๆ ไปด้วย

กรุณาส่งใบตอบรับได้ที่ คุณชูชื่น หมายเลขโทรสาร ๐ – ๒๔๑๖ - ๒๙๙๐ หรือส่ง Email ได้ที่คุณไก่ chayaporn@cpf.co.th ภายในวันพุธที่ ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๕๐ เมื่อส่งแล้วกรุณาโทรติดต่อ เพื่อตรวจสอบว่าได้รับเรียบร้อยหรือไม่ ที่คุณชื่น ๐๘๑-๖๒๗ - ๗๑๗๙ หรือคุณไก่ ๐๘๙ – ๑๐๙ - ๔๔๔๘

จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ

ขอแสดงความนับถือ
(นายรุ่งโรจน์ จตุรภุชพรพงศ์)
แกนนำชมรมครอบครัวชั้นมัธยม ๒ โรงเรียนรุ่งอรุณ

...........................................................................................................................


แบบตอบรับการเข้าร่วมกิจกรรม “ครอบครัวคุยกันครั้งที่ ๑”
ข้าพเจ้า (นาย/นาง/นางสาว)............................................................................
ผู้ปกครองของ (เด็กชาย/เด็กหญิง)………………………………ชั้นมัธยม ๒/……..
...... มีความประสงค์เข้าร่วม ...... ไม่มีความประสงค์เข้าร่วม
มีผู้ปกครองที่เข้าร่วม จำนวน....................คน
หมายเลขโทรศัพท์................................................................................
หมายเลขโทรสาร …………………………………......................................
Email Address …………………………………………………………………..


๒๕/๕/๕๐

Teacher & Student บทความชวนอ่านจาก "แม่ไก่"

อ่านแล้วตรอง ด้วย หัวใจ จะค้นพบความจริง ที่เราอาจไม่เคยยอมรับมัน
คุณครูทอมป์สันโกหกนักเรียนชั้น ป. 5 ของครูทั้งชั้นซะแล้ว ตั้งแต่วันแรกเลยด้วย
คุณครูบอกเขาว่าครูรักเด็กๆ เท่ากันหมดเลย แต่นั่นก็เป็นไปไม่ได้ เพราะว่ามีเด็กตัวเล็กๆ ท่าทางขี้เกียจคนนึง ชื่อ เท็ดดี้ สต๊อดดารด์ ครูทอมป์สันได้จับตาดูเท็ดดี้มาปีนึงและ สังเกตว่าเขาไม่ค่อยเล่นดีๆ กับเด็กคนอื่นเท่าไหร่ เสื้อผ้าของเขาสกปรกและเค้าตัวเหม็นหึ่งอยู่ตลอดเวลาด้วยแหละ และบางทีเท็ดดี้ก็เกเรด้วย
ถึงขั้นที่ว่าครูทอมป์สันสนุกกับการตรวจงานของเท็ดดี้ด้วยหมึกสีแดง กากบาทไปหนาๆ และใส่ตัว F ตัวใหญ่ๆ ลงไปบนหัวกระดาษ
ที่โรงเรียนที่คุณครูทอมป์สันสอน คุณครูต้องทบทวนประวัติของเด็กแต่ละคนด้วย และครูก็ไม่ยอมตรวจประวัติของเท็ดดี้จนกระทั่งเหลือแฟ้มสุดท้าย แต่เมื่อคุณครูตรวจแฟ้มเข้า ครูทอมป์สันก็แปลกใจใหญ่เลยครับ เมื่อพบว่า ….
ครูชั้น ป. 1 ของเท็ดดี้วิจารณ์มาว่า "น้องเท็ดดี้เป็นเด็กที่ฉลาดและร่าเริง ทำงานเรียบร้อย มารยาทดี เป็นเด็กที่น่ารักมากทีเดียว"
คุณครูที่สอนเท็ดดี้ตอน ป. 2 เขียนว่า "เท็ดดี้เป็นเด็กที่เรียนเก่งมาก เพื่อนๆ ชอบกันทุกคน แต่กำลังมีปัญหา เพราะแม่ของเท็ดกำลังป่วยหนักและชีวิตทางบ้านต้องลำบากมากแน่ๆ"
คุณครูที่สอนเท็ดดี้ตอน ป. 3 เขียนว่า "เขาเสียใจมากที่เสียแม่ไป เขาพยายามเต็มที่แล้ว แต่คุณพ่อก็ไม่ค่อยให้ความรัก ความสนใจเขาเท่าไหร่ และชีวิตที่บ้านเขาต้องส่งผลกระทบต่อเขาแน่ๆ ถ้าไม่มีคนยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือ"
คุณครูที่สอนเท็ดดี้ตอน ป. 4 เขียนว่า "เท็ดดี้ไม่ยอมเข้าสังคมและไม่ค่อยสนใจการเรียนเท่าที่ควรไม่ค่อยมีเพื่อน และหลับในห้องเรียน"
ตอนนี้ คุณครูทอมป์สันรู้ถึงปัญหาแล้ว และอับอายในการกระทำของตนเองมาก ครูรู้สึกแย่ยิ่งกว่าเดิมอีกเมื่อนักเรียนในห้องซื้อของขวัญวันคริสต์มาสมาให้ ห่อในกระดาษสีสดๆ พร้อมผูกโบว์อย่างดี ยกเว้นแต่ของเท็ดดี้ ของขวัญของเท็ดดี้ถูกห่ออย่างหยาบๆ ในกระดาษลูกฟูกหนาๆ ที่ได้มาจากถุงใส่กับข้าว ครูทอมป์สันกัดฟันเปิดกล่องของเท็ดดี้ดู กลางกองของขวัญอื่น ๆ เด็กบางคนเริ่มหัวเราะเมื่อเห็นว่าเท็ดดี้ให้กำไลลูกปัดที่ไม่ครบเส้น และขวดน้ำหอมที่เหลือน้ำอยู่ก้นขวดแก่เธอ แต่ครูก็หยุดเสียงหัวเราะของเด็ก ๆ เมื่อครูเอ่ยขึ้นว่ากำไลเส้นนั้นสวยเพียงใดสวมมันไว้ที่ข้อมือ และฉีดน้ำหอมไปบนข้อมือด้วย เท็ดดี้ สต๊อดดารด์ นิ่งอยู่นานพอที่จะพูดว่า "ครูทอมป์สันครับ วันนี้ครูตัวหอมเหมือนที่แม่ผมเคยหอมเลยครับ" หลังจากที่นักเรียนทุกคนกลับบ้าน ครูทอมป์สันก็ร้องไห้อย่างนั้นเป็นชั่วโมง
วันนั้นเอง คุณครูเลิกสอนหนังสือ เลิกสอนการเขียน และเลิกสอนเลขคณิต คุณครูเริ่มสอนเด็กๆ แทน คุณครูทอมป์สันเอาใจใส่เท็ดดี้เป็นพิเศษ เมื่อครูพยายามช่วยเขา จิตใจของเขาก็กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง ยิ่งครูให้กำลังใจเท็ดดี้เท่าไหร่ เขาก็ยิ่งตอบรับเร็วขึ้นเท่านั้น
ภายในสิ้นปีนั้น เท็ดดี้ได้กลายเป็นเด็กที่ฉลาดที่สุดในห้อง และแม้ว่าคุณครูจะบอกว่าครูรักเด็กทุกคนเท่ากัน เท็ดดี้ก็ได้กลายไปเป็น"ศิษย์โปรด" ของครู
หนึ่งปีต่อมา คุณครูพบจดหมายอยู่ใต้ประตู จดหมายนั้นมาจากเท็ดดี้ บอกครูว่าคุณครูยังเป็นครูที่ดีที่สุดที่เขาเคยมี หกปีต่อมาครูก็ได้จดหมายจากเท็ดดี้อีก บอกว่าเขาเรียนจบ ม.ปลายแล้ว ได้ที่สามในทั้งระดับ และคุณครูยังคงเป็นครูที่ดีที่สุดที่เขาเคยเจอมาในชีวิต สี่ปีหลังจากนั้น คุณครูก็ได้จดหมายอีก บอกว่าแม้ว่าชีวิตเขาจะลำบากบ้าง เขาก็ไม่ได้เลิกเรียนหนังสือ และจะจบปริญญาตรีในเร็วๆ นี้ด้วยเกียรตินิยมอันดับหนึ่ง (เหรียญทอง) และยังย้ำกับครูทอมป์สันว่า คุณครูเป็นครูที่ดีที่สุดและเป็นครูคนโปรดในชีวิตเขา
จากนั้นสี่ปีผ่านไปแต่จดหมายอีกฉบับหนึ่งก็มา ครั้งนี้เขาอธิบายว่าหลังจากที่เขาได้รับปริญญาตรีแล้ว เขาตัดสินใจที่จะเรียนต่ออีกนิด จดหมายนั้นอธิบายว่าคุณครูยังเป็นครูคนที่ดีที่สุดที่เขาเคยมี แต่ตอนนี้ชื่อของเขายาวขึ้นอีกหน่อย จดหมายนั้นลงชื่อว่า นพ. ทีโอดอร์ เอฟ สต๊อดดารด์
เรื่องยังไม่จบแค่นี้นะ คือว่า ฤดูใบไม้ผลินั้นก็ยังมีจดหมายมาอีก เท็ดดี้บอกว่า เขาได้เจอสาวคนนึงและก็จะแต่งงานกัน เขาอธิบายว่าพ่อของเขาได้เสียไปเมื่อสองสามปีก่อนและเขาสงสัยว่าคุณครูทอมป์สันจะตกลงมานั่งในที่นั่งสำหรับพ่อ-แม่เจ้าบ่าวในงานแต่งงานหรือไม่ แน่นอนที่สุด ครูทอมป์สันก็มา และทายสิว่าเกิดอะไรขึ้น คุณครูใส่กำไลข้อมือเส้นนั้น เส้นที่มีลูกปัดหายไปหลายลูก และต้องฉีดน้ำหอมที่เท็ดดี้จำได้ว่าแม่เขาฉีดตอนที่ฉลองเทศกาลคริสต์มาสครั้งสุดท้ายด้วยกัน ครูกับศิษย์กอดกันกลมเลย และคุณหมอเท็ดก็กระซิบในหูคุณครูทอมป์สันว่า "ขอบคุณมากนะครับคุณครูที่เชื่อในตัวผม ขอบคุณมากที่ทำให้ผมรู้สึกสำคัญและแสดงให้ผมเห็นว่าผมสามารถที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆ ได้" ครูทอมป์สันกระซิบตอบพร้อมน้ำตานองหน้าว่า "หมอเท็ด เธอเข้าใจผิดแล้วแหละเธอต่างหากที่สอนครูว่า ครูสามารถเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆ ได้ ครูไม่รู้จักการสอนจนกระทั่งครูได้พบ ได้รู้จักเธอนั่นแหละ"
เติมเต็มหัวใจของคนอื่นด้วยความรักเสียแต่วันนี้.....โปรดจำว่า ไม่ว่าคุณจะไปไหน หรือทำอะไร คุณจะมีโอกาสที่จะสัมผัสและ/หรือเปลี่ยนอนาคตของคนอื่นเสมอ ขอให้คุณสัมผัสและเปลี่ยนอนาคตของคนอื่นในทางที่ดีด้วยล่ะ
อ่านแล้วมีความคิดเห็นอย่างไร อย่าลืมเขียน ความคิดเห็น มาเล่าสู่กันฟังด้วย

ผลการสอบเข้าเรียนต่อระดับอุดมศึกษาของศิษย์รุ่งอรุณรุ่นที่ 5

รายชื่อนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2549 ที่สอบเข้าเรียนต่อระดับอุดมศึกษา
1. นางสาวพิมพ์สิริ เจียมถาวร (เอม) คณะศิลปะศาสตร์ ภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
2. นางสาววรนันทน์ พงศ์ไพโรจน์ (นันทน์)คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
3. นายมุนินทร์ สวัสดิเกียรติกุล (หมั่น) คณะสารสนเทศ ภาควิชามัลติมีเดีย มหาวิทยาลัยรังสิต
4. นายเกตุกานต์ มัคคสมัน (แคน) คณะดุริยางคศิลป์ เอกกีตาร์แจ๊ส มหาวิทยาลัยมหิดล
5. นายญาณพล วิบูลย์วิทยานันท์ (ออฟ)คณะดุริยางค์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
6. นางสาวปิยนุช วงศ์อัศวไพบูลย์(หุย) คณะศิลปกรรมศาสตร์(เครื่องประดับ)ม.ศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร
7. นายรัฐพล ลาภศรีสวัสดิ์ (ไตเติ้ล) คณะการบริหารจัดการโรงแรม มหาวิทยาลัยศิลปากร
8. นางสาวชริยา นาทพัฒนพงศ์ (เอ็ม) คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
9. นางสาววิภาวี ศรีเมฆานนท์ (วิ) คณะสารสนเทศ ภาควิชามัลติมีเดีย มหาวิทยาลัยศรีปทุม
10. นายปราโมทย์ ปิติอนุสรณ์ (เบส) คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
11. นางสาววริฏฐา มาดี (เจ) คณะการจัดการการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
12. นายปนัฐชาติ วชิราศรีศิริกุล (ริว) คณะดุริยางคศิลป์ เอกกลอง มหาวิทยาลัยมหิดล
13. นายชนินทร์ เกษดำรงพาณิชย์ (เจิม)คณะธุรกิจการบิน มหาวิทยาลัยราชภัสวนดุสิต วิทยาเขตหัวหิน
14. นางสาวภมรรัตน์ หทยีช (มด) คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
15. นายวิรุฬห์ ฐิติไชโย (อาร์ม) คณะ SIIT IT มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
16. นางสาวปวันรัตน์ จริยกชกร (พลอย) คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (ABAC)
17. นางสาวศศิธร ปุยะกุล (เนม) คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
18. นางสาวธัญทิพย์ บุญอำนวยวิทยา(จีต้า)คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ภาคInter มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
19. นายศิวรัชต์ รัตนวชิรินทร์ (คอตต้อน) คณะดุริยางคศิลป์ เอกกีตาร์แจ๊ส มหาวิทยาลัยมหิดล
20. นางสาวโสภาพร วงศ์อติลักษณ์(หนิง)คณะบริหารธุรกิจ ภาค Inter มหาวิทยาลัยมหิดล
21. นางสาวพิชญา พัวภูมิเจริญ (จา) คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ภาค Inter มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
22. นางสาวอุราศี ศิริพานิชกร (น้ำตาล) คณะเศรษฐศาสตร์ ภาค Inter มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
23. นายธนวัฒน์ จงรักศักดิ์ (วัฒน์) คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต คณะวิศวกรรม (การบิน) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
24. นายปัณณธร ชื่นวงศ์อรุณ (จอม) ME วิศวกรรมศาสตร์ เครื่องกล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
25. นายกรณ์ คุณาลังการ (ปาวด์) คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ภาค Inter มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
26. นางสาวกฤชยา เจริญพิริยะเวศ (ลูกนก)คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล
27. นางสาวนำขวัญ มั่นประสิทธิ์ (ตอง) คณะเศรษฐศาสตร์ ภาค Inter มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
28. นายธกานต์ วัชรเนตร (นาย) แพทย์แผนไทย (ศิริราช) มหาวิทยาลัยมหิดล
29. นายณัฐวุฒิ ชื่นอารมณ์ (แปลน) วิศวกรรมศาสตร์สิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
30. นายตะวันไท ไทยสวัสดิ์ (ไท) คณะดุริยางคศิลป์ เอกกีตาร์แจ๊ส มหาวิทยาลัยมหิดล

๒๔/๕/๕๐

สิบห้าบาทของเรา สิบห้าบาทของเค้า (บทความชวนอ่านจาก"แม่ไก่")

มีคนส่งมาให้อ่านค่ะ... เห็นว่าน่าสนใจดีก็เลยนำมาให้อ่านกัน
เรื่องนี้เป็นเพราะความบังเอิญที่บ่ายวันนั้นฝนตก ตัวเองก็รีบจะไปเจอเพื่อนที่รออยู่บีทีเอสหมอชิต ตัดสินใจรีบวิ่งขึ้นแท็กซี่ที่จอดเรียงกันอยู่โดยไม่มองว่ารถคันนั้นมีสภาพยังไง เข้ามานั่งแล้วถึงได้รู้ว่าเป็นรถแท็กซี่รุ่นเก่า (คันเล็ก แอร์ไม่เย็น แล้วก็จะมืดๆ หน่อยอ่ะค่ะ คือ มองจากข้างนอกจะเห็นข้างในไม่ค่อยชัด)
ตอนนั้นก็คิดแค่ว่า เออ... แค่นี้เอง เดี๋ยวก็ถึง ร้อนหน่อย ไม่เป็นไร นั่งไปได้สักพัก รถติด คุณลุงคนขับรถก็หันมาถามประมาณว่า มีแบงค์ย่อยรึเปล่า ลุงไม่มีเงินทอน นี่เป็นรอบแรกของวันนี้เลย...?
เราเห็นว่าตอนนั้นมันจะสี่โมงเย็นแล้ว แต่ลุงบอกว่าเป็นเที่ยวแรกของวันนี้ ก็เลยถามว่า ลุงเข้ากะบ่ายหรือคะ? คุณลุงตอบกลับว่า ลุงขับมาตั้งแต่ตีสี่แล้ว นี่รถของลุงเอง วนไปวนมาอยู่หลายรอบแล้ว แต่ไม่มีลูกค้าเลย. อ้าว...ทำไมล่ะคะลุง ตอนนั้นก็ชวนคุณลุงคุยแบบไม่ได้ติดใจอะไร ถามไปเรื่อย...
รถลุงเก่า คนเค้าก็ไม่อยากนั่ง แต่ลุงเข้าใจนะ มันก็เป็นเงินของเค้า รถเก่า รถใหม่ ค่าโดยสารมันเท่ากัน เป็นลุงลุงก็อยากได้ที่มันดีๆ เหมือนกัน เด็กๆ เดี๋ยวนี ้เค้าก็ชอบรถที่มีสีๆ กัน น้ำเสียงคุณลุงตอนนั้น เป็นน้ำเสียงเหมือนจะขำๆ แบบเล่าสู่กันฟังมากกว่าจะประชดประชันนะคะ
แล้วลุงก็เปลี่ยนเรื่อง ถามว่า "รถไฟฟ้านี่ เค้าคิดเงินกันยังไง" ก็เลยอธิบายเรื่องราคาให้ลุงฟัง แล้วลุงก็ถามว่า ทำยังไง... ถ้าทำไม่เป็นจะมีใครช่วยไหม...? ลูกชายลุงมันอยากจะลองนั่ง แต่ลุงก็ทำไม่เป็น ไม่เคยเห็นว่าเป็นยังไง ไม่กี่วันจะถึงวันเกิดมันแล้ว! ลุงสัญญาว่า จะพามันมานั่งดูสักรอบ คงจะชอบนะหนู ลุงเคยพามันมาดู แต่วันนั้นไม่มีเงินจะให้นั่ง สมัยนั้น บีทีเอส สร้างเสร็จ และเปิดใช้งานแล้วเกือบสามปี...น้ำเสียงตอนคุณลุงเล่า ฟังดูมีความสุขนะคะ คุณลุงยิ้มให้เราทางกระจก
คำพูดของคุณลุง ทำให้เราตื้อขึ้นมา ไม่รู้ว่าจะตอบยังไงดี ได้แต่พยักหน้าแล้วก็ยิ้มตอบ ทั้งสองเรื่องที่ลุงพูดมา เรื่องรถแท็กซี่เก่าของลุง เราฟังแล้วก็ได้แต่ยิ้มเจื่อนๆ ให้ลุงไป เพราะเราเองก็รู้ตัวดีอยู่ว่า เป็นหนึ่งใน เด็กๆ เดี๋ยวนี้ ที่มักจะเลี่ยงนั่งรถเก่าๆ และมักจะยอมเสียเวลาเป็นครึ่งชั่วโมง เพื่อรอรถแท็กซี่ใหม่ๆ ผ่านมา เรารู้ดีว่าแม้แต่การนั่งรถของคุณลุงในครั้งนี้ มันก็เป็นแค่ความบังเอิญ ถ้าฝนไม่ตก ถ้าเราไม่รีบ เราก็คงไม่เรียกรถของคุณลุง
หลังจากนั้นเราก็คิดว่า มันอาจจะเป็นเรื่องของสิทธิส่วนบุคคลที่เราสามารถ เลือกในสิ่งที่เราต้องการได้ แต่ถ้าสิ่งที่เราเลือกทำมันมีประโยชน์กับคนอื่นด้วย เราก็ไม่คิดว่ามันจะเสียหายอะไร (แท็กซี่ใหม่ก็ไม่ผิดหรอกค่ะ เพราะในจำนวนนั้นก็มีคนที่ลำบาก หาเช้ากินค่ำเช่นกัน) ส่วนเรื่องรถไฟฟ้า เรื่องของลูกชายคุณลุง ทำให้เรากลับมามองตัวเอง เราใช้รถไฟฟ้าไปไหนมาไหนตลอด บางครั้งไม่มีอะไรทำก็ชอบไปนั่งเล่นด้วยซ้ำ จะใช้ทีก็แทบจะไม่ต้องคิดเลย แต่สำหรับลูกชายคุณลุง มันคือ ของขวัญวันเกิด เป็นความต้องการที่แทบจะต้องใช้คำว่า ความฝัน ด้วยซ้ำ เงิน แค่ สิบห้าบาทของเรา กับ เงิน ตั้ง สิบห้าบาท ของเค้า หดหู่ค่ะ วันนั้นลงจากรถคุณลุงมาก็เล่าให้เพื่อนฟัง คิดถึงตัวเองที่ใช้เงินฟุ่มเฟือย ทั้งที่หาเงินเองไม่ได้ คิดถึงหลายๆ อย่างในชีวิต ที่ได้มาง่ายๆ โดยไม่ต้องดิ้นรน...
อ่านแล้วรู้สึกอย่างไร อย่าลืมช่วยกันเขียน ความคิดเห็น ส่งมาด้วย

๒๓/๕/๕๐

เรื่องจริงของเด็กที่ชื่อ "ร็อบบี้" (บทความชวนอ่านจาก"แม่ไก่")

ฉันเขียนเรื่องนี้ขึ้นมาด้วยแรงกระตุ้นจากเพื่อนฝูงรอบข้าง ฉันเป็นอดีตครูสอนดนตรีในโรงเรียนประถมแห่งหนึ่งซึ่ง ชอบหารายได้พิเศษจากการสอนให้นักเรียนที่สนใจเรียนเปียโน ฉันมีประสบการณ์มากมายจากนักเรียนพิเศษเหล่านั้น และร็อบบี้ก็เป็นเด็กคนหนึ่งในนั้นที่ฉันจะนำมาเล่าให้ฟัง
ฉันพบร็อบบี้เป็นครั้งแรกเมื่อแม่ของเขาส่งมาให้เรียนเปียโน ร็อบบี้เป็นเด็กชายอายุ 11 ปี ซึ่งความจริงแล้วเขาอายุมากเกินไป ที่จะเริ่มต้นเรียนเปียโนกับฉัน เพราะฉันก็พยายามอธิบายให้ร็อบบี้ฟัง แต่เขาก็ยังคงยืนยันที่จะเรียนให้ได้ ร็อบบี้บอกฉันว่าแม่ของเขาซึ่งเลี้ยงลูกชายคนเดียวด้วยตัวเองตามลำพัง มีความใฝ่ฝันเหลือเกินที่จะได้ยินลูกชายเล่นเปียโนให้ฟังสักครั้งในชีวิต อย่างไรก็ดี ร็อบบี้ก็ได้เรียนเปียโนกับฉันจนได้
ตั้งแต่ครั้งแรกที่เขาเริ่มเรียน ฉันก็รู้สึกได้ทันทีว่าเด็กชายคนนี้ไม่มีพรสวรรค์ทางดนตรีเอาเสียเลย ยิ่งเขาพยายามมากเท่าใด ก็ยิ่งทำให้เห็นชัดถึงการไร้ความสามารถ และไร้พื้นฐานทางด้านดนตรีโดยสิ้นเชิง แต่เขาเองก็พยายามที่จะทบทวนบทเรียนขั้นพื้นฐานที่ฉันบังคับ ให้นักเรียนทุกคนฝึกฝนอยู่เสมอ ฉันพยายามแล้วพยายามอีกที่จะให้เขาพัฒนาฝีมือขึ้นมา แต่ช่างดูเหมือนกับแทบจะหมดความหมายเอาเสียจริง ๆ ทุกๆสุดสัปดาห์ที่สิ้นสุดการเรียน ร็อบบี้จะพูดเสมอ ๆ ว่า “สักวันหนึ่งแม่ผมจะต้องได้ฟังผมเล่นเปียโน” ฉันไม่เคยได้พูดคุยกับแม่ของเขาเลยแค่เคยเห็นเธอมาส่งร็อบบี้เรียนเปียโน แล้วเธอก็นั่งรออยู่ในรถเก่า ๆ ของเธอ แม่ของร็อบบี้จะเพียงแค่ส่งยิ้มและโบกมือให้ฉัน แต่เธอไม่เคยแวะเข้ามาสักครั้งเดียว แล้ววันหนึ่ง ร็อบบี้ก็ไม่ได้มาเข้าเรียนอีก ฉันคิดว่าจะโทรศัพท์ไปถามข่าวคราวของเขา แต่ก็กลับมาคิดว่า คงเป็นเพราะร็อบบี้เริ่มรู้ตัวเองว่าไม่มีพรสวรรค์ทางด้านดนตรีแน่ ๆแล้ว จึงตัดสินใจหยุดเรียนไปเสียเฉย ๆ ฉันเองยังแอบดีใจที่เขาหยุดเรียนไปเสียได้ เพราะเขาคงไม่ใช่นักเรียนตัวอย่างที่ดีที่ฉันสามารถอวดใคร ๆ ได้เลย
หลายสัปดาห์ผ่านไป ฉันส่งใบปลิวไปยังบ้านบรรดาศิษย์ที่เคยเรียนเปียโนกับฉัน เพื่อให้มาร่วมงานแสดงเดี่ยวเปียโนของลูกศิษย์รุ่นปัจจุบัน และฉันก็ต้องประหลาดใจ เมื่อร็อบบี้ซึ่งได้รับใบปลิวด้วย ได้มาขออนุญาติฉันเข้าร่วมเดี่ยวเปียโน ฉันแย้งไปว่านี่เป็นการแสดงของศิษย์ปัจจุบันเท่านั้น ร็อบบี้ได้หยุดเรียนไปนานแล้ว ฉันคงไม่สามารถให้เข้าร่วมแสดงด้วยได้ ร็อบบี้บอกว่าเพราะแม่ล้มป่วยจึงไม่สามารถพาเขามาส่งให้เรียนเปียโนได้ แต่เขาก็ได้ฝึกซ้อมเปียโนอยู่สม่ำเสมอทุกวัน “ครูครับผมจะต้องเล่นเปียโนในคืนนั้นให้ได้” เขายืนยัน ไม่รู้ว่าอะไรกันที่ดลใจให้ฉันยอมให้ร็อบบี้ขึ้นแสดงในวันงาน อาจจะเป็นเพราะความมุ่งมั่นของเขา หรือไม่ก็อาจเป็นเพราะบางส่งบางอย่างข้างในที่บอกฉันว่า ทุกสิ่งจะต้องเป็นไปด้วยดี
เมื่อคืนวันงานมาถึง ยิมเนเซียมของโรงเรียนมัธยมที่ฉันใช้เป็นห้องแสดงดนตรีนั้น แน่นขนัดไปด้วยผู้ปกครอง เพื่อนฝูงและญาติพี่น้องของบรรดานักแสดงเปียโน ฉันให้ร็อบบี้แสดงในช่วงหลังสุด ก่อนที่ฉันจะต้องออกมากล่าวขอบคุณและเล่นโชว์เองในชุดสุดท้าย ฉันคิดว่าหากเขาเกิดทำสิ่งใดผิดพลาดขึ้นมา ฉันจะได้รีบออกมากู้หน้า เพื่อกล่าวขอบคุณและปิดการแสดงเสียเลย ทุกสิ่งทุกอย่างดำเนินไปอย่างเรียบร้อย นักเรียนทุกคนต่างฝึกฝนกันมาอย่างดี และแสดงออกมาได้อย่างไม่มีที่ติ และแล้วก็มาถึงช่วงการแสดงของร็อบบี้ เมื่อเขาขึ้นมาบนเวที เสื้อผ้าของเขายับย่นยู่ยี่ ผมเผ้าก็ไม่ได้หวี ดูกระเซอะกระเซิงไปหมด ฉันคิดในใจว่า ตายละทำไมแม่ของเขาไม่ดูแลลูกเลย ทำไมไม่ให้ลูกแต่งตัวเต็มที่เหมือนกับเด็กคนอื่น ๆ ทั้ง ๆ ที่คืนนี้เป็นคืนพิเศษแท้ ๆ อย่างน้อยก็น่าจะหวีผมเขาให้ดูดีกว่านี้สักหน่อย
ร็อบบี้ดึงม้านั่งเล่นเปียโนออกมาเริ่มต้น ฉันประหลาดใจมากที่เขาประกาศกับผู้ชมว่า เขาเลือกที่จะแสดงคอนแชร์โตหมายเลข 21 ของโมสาร์ท ในซีเมเจอร์ ฉันยังไม่ทันได้เตรียมตัวว่าจะต้องฟังอะไรต่อไป นิ้วของร็อบบี้ก็พรมแผ่วพริ้วไปบนคีย์เปียโน ราวกับว่านิ้วของเขากำลังเต้นระบำอย่างคล่องแคล่วอยู่บนนั้น ไม่มีผิดเพี้ยนเลยแม้แต่น้อย ช่างน่ามหัศจรรย์อะไรอย่างนี้ ฉันยังไม่เคยเห็นเด็กชายวัยเท่าร็อบบี้ จะสามารถเล่นเพลงของโมสาร์ทได้ดีเยี่ยมขนาดนี้มาก่อนเลย เมื่อเวลาหกนาทีครึ่งผ่านไป การแสดงของร็อบบี้ก็สิ้นสุดลง ผู้คนทุกคนต่างลุกขึ้นยืนปรบมือให้เขาจนเสียงดังสนั่นไปทั้งห้อง ฉันวิ่งขึ้นไปบนเวทีทั้งน้ำตาคลอโอบกอดร็อบบี้ไว้ด้วยความปลาบปลื้ม “ครูไม่เคยได้ยินเธอเล่นได้ดีขนาดนี้มาก่อนเลยร็อบบี้ เธอทำได้อย่างไรกัน” ร็อบบี้ตอบฉันผ่านไมโครโฟนออกไปว่า “จำได้ไหมครับครู ที่ผมเคยบอกว่าแม่ของผมป่วย แม่ผมป่วยด้วยโรคมะเร็ง และแม่ก็จากผมไปแล้วเมื่อเช้านี้เอง และความจริงก็คือ แม่ผมเป็นใบ้หูหนวกมาตั้งแต่เกิด ดังนั้นคืนนี้จึงเป็นคืนแรกที่แม่จะสามารถได้ยินผมเล่นเปียโน ผมจึงต้องการทำให้มันพิเศษสุดจริง ๆ สำหรับแม่” ไม่มีดวงตาคู่ไหนเลยที่จะไม่มีน้ำตาในคืนนั้น แม้แต่เจ้าหน้าที่จากบ้านเด็กกำพร้าที่มารับร็อบบี้ไปดูแล ก็ยังมีนัยน์ตาบวมแดงให้ฉันสังเกตเห็น ฉันไม่เคยได้รับแรงกระตุ้นผลักดันใด ๆ มาก่อนเลย แต่ในคืนนั้นฉันก็ได้รับจากเขา ร็อบบี้ต่างหากที่เป็นครูและฉันเองเป็นนักเรียน ที่สอนให้ฉันได้รู้ความหมายของความเพียรพยายาม... ความรัก...ความเชื่อมั่นในตัวเองและอาจจะรวมถึงการให้โอกาสใครสักคน โดยที่เราเองก็ไม่รู้ว่าทำไม ..........ร็อบบี้เสียชีวิตลงแล้วในการระเบิดที่โอกลาโฮมาซิตี้ เมื่อเดือนเมษายน 1995

อ่านแล้วรู้สึกอย่างไร อย่าลืมเขียน ความคิดเห็น มาพูดคุยกันบ้าง

๑๖/๑๒/๔๙

ค่ายโฮมสเตย์ฝึกอบรมฟุตบอล (ตอนปิดเทอม๒)

ดูรูปทั้งอัลบั้มหรือ download รูป คลิ๊กที่รูปข้างบน หากจะส่งรูปมาเพิ่มในอัลบั้มให้ส่งมาที่ http://rungrote@hotmail.com

สำหรับผู้ที่จะชมภาพ "ค่ายฝึกอบรมฟุตบอลตอนปิดเทอม ๑" ที่ผ่านมา เข้าไปชมภาพทั้งอัลบั้มหรือ download ได้ที่ http://picasaweb.google.com/rungrote4/Unnamed03

๑๔/๑๒/๔๙

ประมวลภาพงานหยดน้ำเทอม๒ ห้อง ม.๑/๑













วิชาภูมิปัญญา-ภาษาไทย "คำไทยสื่อใจไทย" จัดเมื่อวันศุกร์ที่ ๘ ธ.ค. เวลา ๑๔.๐๐-๑๖.๐๐น. ณ ห้องประชุมรับอรุณ
ดูรูปทั้งอัลบั้มและ download รูปได้ที่ http://picasaweb.google.com/rungrote44/JapMNI
ผู้ที่สนใจจะโพสต์รูปเพิ่มในอัลบั้มเให้คนอื่นได้ชมและ download ด้วย ให้ส่งเป็นอีเมล์มาที่ mailto:rungrote@hotmail.com (อาจจะใส่คำบรรยายประกอบมาด้วย)

ประมวลภาพงานหยดน้ำเทอม๒ ห้อง ม.๑/๒




















วิชาธรรมชาติศึกษาและประยุกต์วิทยา "กินดี อยู่ดี มีสุข" จัดเมื่อวันพฤหัสที่ ๗ ธ.ค. เวลา ๑๕.๐๐-๑๗.๐๐น. ณ ลานหน้าอาคารมัธยมต้น ดูรูปทั้งอัลบั้มและ download รูปได้ที่ http://picasaweb.google.com/rungrote44/MqQGwK
ผู้ที่อยากจะโพสต์รูปเพิ่มในอัลบั้มเให้คนอื่นได้ชมและ download ด้วย ให้ส่งเป็นอีเมล์มาที่ mailto:rungrote@hotmail.com (อาจจะใส่คำบรรยายประกอบมาด้วย)

ประมวลภาพงานหยดน้ำเทอม๒ ห้อง ม.๑/๓













วิชามานุษย์และสังคมศึกษา "สืบสานวิถีสุวรรณภูมิ" จัดเมื่อวันศุกร์ที่ ๘ ธ.ค. เวลา ๑๐.๐๐-๑๒.๐๐น.
ณ ห้องประชุมรับอรุณ ดูรูปทั้งอัลบั้มและ download รูปได้ที่ http://picasaweb.google.com/rungrote44/DtgzVH
ผู้ที่สนใจจะโพสต์รูปเพิ่มในอัลบั้มเให้คนอื่นได้ชมและ download ด้วย ให้ส่งเป็นอีเมล์มาที่ mailto:rungrote@hotmail.com (อาจจะใส่คำบรรยายประกอบมาด้วย)

๙/๑๒/๔๙

ประมวลภาพงานภาคสนามของห้อง ม.๑/๑















ห้องม.๑/๑ ศึกษาภาคสนามในวิชาภูมิปัญญา-ภาษาไทย ผ่านโครงงาน "คำไทยสื่อใจไทย" ณ วัดสุวรรณาราม บางกอกน้อย และวัดเทพธิดาราม เมื่อวันพฤหัสที่ ๒๓ พ.ย. ๔๙ ตั้งแต่เวลา ๐๘.๐๐-๑๖.๐๐น.
ชมภาพทั้งอัลบั้มได้ที่ http://picasaweb.google.com/rungrote4/211
สำหรับผู้ที่สนใจจะโพสต์รูปเพิ่มในอัลบั้มเให้คนอื่นได้ชมหรือ download ด้วย ให้ส่งเป็นอีเมล์มาที่ mailto:rungrote@hotmail.com (อาจจะใส่คำบรรยายประกอบมาด้วย)
หากอยากจะเล่าสู่กันฟังเกี่ยวกับงานภาคสนามที่เพิ่งไปกันมา ให้คลิ๊กเข้าไปที่ comments